



บริษัทของเราก่อตั้งในกรุงเทพเมื่อปี 2009 ซึ่งนับเป็นปีที่ 8 ในปีนี้ นับตั้งแต่ช่วงแรกของการก่อตั้ง บริษัทได้ให้บริการเครื่องมือวัดสามมิติแบบไร้การสัมผัส (Non-contact ) และบริการตรวจสอบแบบสามมิติแก่ลูกค้า
สำหรับการบริการอย่างละเอียด มีการจัดทำรายงานการประเมินรูปทรงสามมิติ และสร้างแบบจำลองด้วยฟอร์แมท 3D CAD จาก 3D Scaning data (Reverse Modeling) โดยจะวัดแบบสามมิติของแม่พิมพ์และผลิตภัณฑ์โดยไร้การสัมผัส (Non-contact) ด้วยเลเซอร์หรือกล้อง จากนั้นก็รับข้อมูลรูปทรงสามมิติ (3D scan) ไปเปรียบเทียบและตรวจเทียบกับแบบจำลอง CAD สามมิติ
เครื่องมือวัดสามมิติแบบไร้การสัมผัส (Non-contact) มีวิธีการและประสิทธิภาพการทำงานที่หลากหลาย ส่วนในเรื่องของความแม่นยำ เราโฟกัสที่ช่วงระหว่าง 20μ ถึง 30μ (0.02 มม. ถึง 0.03 มม.) ค่าความแม่นยำนี้โดยทั่วไปจะมีประสิทธิภาพและเหมาะกับงานพลาสติกแต่ในทางกลับกันค่าความแม่นยำนี้จะไม่เพียงพอกับงานด้าน Machining ดังนั้นงานที่ได้รับส่วนใหญ่จะเป็นงานหล่อ เช่น crankcase, cylinder head, ซึ่งชิ้นส่วนเหล่านี้จะอยู่บริเวณรอบๆเครื่องยนต์เช่นเดียวกับล้อ ลูกค้าส่วนใหญ่ของเราจึงอยู่ในอุตสาหกรรมการหล่อโดยเฉพาะในไทย ตอนนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถมอเตอร์ไซค์มีความสนใจเรื่องของการตรวจวัด 3 มิติแบบ Non-contact เป็นอย่างมาก ดังนั้นเราจึงได้นำเอา 3D Laser Probe ไปใช้กับเครื่อง CMM ของลูกค้าที่มีอยู่โดยจะเป็นผู้ผลิตญี่ปุ่นเป็นหลัก หลังจากนั้น เราก็ได้รับการติดต่อสอบถามจากซัพพลายเออร์ในเครือบริษัทรถ
มอเตอร์ไซค์ ในปัจจุบัน เครื่องมือวัด 3 มิติไร้การสัมผัส (Non-contact) มีค่าความแม่นยำสูง พกพาสะดวก มีให้ลูกค้าเลือกได้หลากหลาย บริษัทของเราไม่ได้เป็นเพียงแค่ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์เท่านั้น แต่ยังช่วยแนะนำให้คำปรึกษาเครื่องมือตรวจวัด 3 มิติแบบ Non-contact และอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานให้แก่ลูกค้า ไม่เพียงแต่จำหน่ายอุปกรณ์เท่านั้น ยังให้บริการทดลองวัดชิ้นงานด้วย หากมีจุดไหนที่ไม่สามารถตรวจสอบประเมินผลได้ ลูกค้าสามารถทดลองใช้การตรวจวัด 3 มิติดูได้ ซึ่งจะมีการแสดงค่าด้วยสีที่ทำให้สามารถเข้าใจง่าย และใช้แชร์ปัญหาของผลิตภัณฑ์ให้กับเพื่อนร่วมงานในแผนกไปจนถึงผู้จัดการได้ หรือจากการที่แสดงค่าด้วยสี ก็จะทำให้เจาะจงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้เวลาในการแก้ไขน้อยลง และหลังจากการทดลองใช้งาน หากลูกค้าคิดว่าการตรวจสอบนี้ช่วยทำให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ค่อยเริ่มพิจารณาการนำเข้ามาใช้งานจริงก็ได้