


บริษัท Honda Electronics คือ ผู้พัฒนาเครื่องหาปลาแบบพกพาเครื่องแรกของโลกและได้มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ จากระบบคลื่นอัลตร้าโซนิคอย่างต่อเนื่องจนได้ออกมาเป็นเครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิค (SAT) และอีกทั้งยังได้เปิดตัวแล้วในประเทศไทยอีกด้วยและในบทความนี้คุณ Asakura ผู้รับผิดชอบเครื่อง SAT ได้อธิบายว่าฟังก์ชันการใช้งานของเครื่องนี้นั้นจะมีทั้งหมดอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ แบบแสดงภาพพิกัดฉาก, แบบแสดงภาพตัดขวาง และแบบแสดงภาพแนวระนาบ
เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิค แบบไม่ทำลาย NDTจะส่งสัญญาณคลื่นอัลตร้าโซนิคเพื่อตรวจสอบโพรงอากาศ, ชั้นผิวหลุดลอกและสิ่งแปลกปลอมภายในชิ้นงานและแสดงผลผ่านระบบภาพจำลอง และทั้งนี้มักจะถูกใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อบกพร่องในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถือว่าเป็นสายงานที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวข้องกับตัวเก็บประจุเซรามิค เช่น ในรถยนต์ไฟฟ้า,ยานขับขี่แบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเคลื่อนที่แบบ 5G
" Zero Defect" คือ สิ่งสำคัญสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนั้นระบบการตรวจสอบจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจากวิธีการตรวจสอบแบบสุ่มไปสู่การตรวจสอบแบบ 100% ที่ไม่อนุญาตให้เกิดข้อบกพร่องใดแม้แต่จุดเดียว ซึ่งดังนั้นเครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิคนี้จึงถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบที่ตรงตามลักษณะดังกล่าว
บริษัทเราพยายามปรับปรุงเครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิคมายาวนานกว่า 50 ปีแล้ว และเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เราจึงพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ 8 ปีที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับ System Integrator เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการประมวลผลภาพขั้นสูงอย่างเทคโนโลยีอัลตร้าซาวนด์และเทคโนโลยีการประมวลผลภาพและนำจุดแข็งของทั้ง 2 เทคโนโลยีนี้มารวมผสานกันจนเกิดเป็นเครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิคเป็นรุ่นปัจจุบันในที่สุด
มีผู้ผลิตจำนวนหลายรายในสายงานนี้ที่ได้นำหน้าเราไปก่อนแล้ว และการเข้าสู่ตลาดในฐานะผู้เข้ามาทีหลัง ทางเราจึงได้เน้นย้ำถึงการสร้างความแตกต่างกับคู่แข่งในแบบที่ลูกค้าสามารถกำหนดสเปคเองได้แทน
ยกตัวอย่าง เช่น หากต้องการสแกนชิ้นงานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 5 ซม. ด้วยระยะพิทช์ละเอียด การใช้เซนเซอร์เพียงหัวเดียวจะต้องใช้เวลานาน ดังนั้นในกรณีนี้หากเพิ่มการติดหัวเซนเซอร์ 4 ถึง 5 หัวจึงจะสามารถช่วยลดระยะเวลาให้สั้นลงได้และนอกจากนี้ตัวเครื่องยังสามารถรองรับขนาดแทงค์ได้ทุกขนาดอีกด้วย
นอกจากนี้ แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วคลื่นความถี่ที่มักจะถูกใช้ในการตรวจสอบจะอยู่ที่ 25 เมกะเฮิรตซ์ แต่ทั้งนี้คลื่นความถี่นั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับขนาดของชิ้นงานและเราในฐานะผู้ผลิตที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค เราสามารถพัฒนาและนำเสนอความถี่ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
เราพร้อมตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าด้วยการใส่ใจทุกในรายละเอียด โดยมีเป็นจุดเด่น คือ การสามารถปรับเปลี่ยนสเปคตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ซึ่งผู้ผลิตรายใหญ่และผู้ผลิตชั้นนำอื่นไม่สามารถทำได้
จุดเด่นที่สำคัญของอุปกรณ์นี้ คือ การมีฟังก์ชันการแสดงผลหน้าจอได้พร้อมกันถึง 3 แบบ ได้แก่ โหมด A (ภาพสะท้อนของคลื่นอัลตร้าโซนิค), โหมด B (ภาพตัดขวาง) และโหมด C (ภาพระนาบ) ซึ่งในโหมด B นั้นจะสามารถแสดงภาพการกระจาย, การมีอยู่และความลึกของจุดบนพื้นที่ที่มีความผิดปกติที่อยู่ใต้ผิวของวัตถุนั่นเอง ดังนั้นผู้ใช้งานจึงสามารถเข้าใจภาพตัดขวางได้ง่ายมากขึ้นและนอกจากนี้การแสดงผลได้พร้อมกันทั้ง 3 หน้าจอนี้ก็ยังเป็นอีกหนึ่งคุณลักษณะพิเศษเฉพาะของ Honda Electronics อีกเช่นกัน
เมื่อเดือนมกราคม ปี 2566ที่ผ่านมา ทางบริษัทเราได้มีการจัดแสดงเครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิคที่งาน "Nepcon Japan" ที่ Tokyo Big Sight และลูกค้าภายในงานจำนวนมากต่างพากันชื่นชมหน้าจอแสดงผลโหมด B ของเรากัน เช่น การกล่าวว่า "นี่เป็นครั้งแรกเลยที่ได้เห็นโหมดนี้" , "สามารถเข้าใจข้อมูลเชิงลึกได้ดี" หรือ "ดูข้อมูลได้ง่ายมากๆ และแถมยังดูได้ทั้งแบบรูปคลื่น, ภาพแนวระนาบแล้วก็ภาพตัดขวางได้พร้อมกันทั้งหมดอีกด้วย" เป็นต้น
การจำหน่ายเครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ข้อบกพร่องระบบอัลตร้าโซนิคในประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้เราได้ตระหนักถึงการรองรับการทำงานด้วยระบบภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้นเช่นกันและนอกจากนี้ทางเรายังมีทีมวิศวกรในประเทศไทยที่มีประสบการณ์สูงที่พร้อมให้ความช่วยเหลือด้านการอ่านผลการประมวลไม่ว่าจะเป็นทั้งทางออนไลน์หรือแม้แต่ที่หน้างานของลูกค้าและนอกจากนี้แล้ว ทางเรายังมีความตั้งใจว่าจะมีการส่งเสริมการฝึกอบรมวิศวกรในประเทศไทยอีกเช่นกัน
Bangkok Representative Office
Tel: +66(0)2-612-7311
Oyama
Mobile: +66(0)88-669-3936
Email: t-oyama@honda-el.co.jp
Wiphani Jarumaneeroj
Tel: +66 (0)90 960 3033