Array ( [0] => stdClass Object ( [id] => 1 [company_id] => 24 [image_url] => company-24-Magazin-Apr-Slider.jpg [image_link] => [image_popup] => 0 [slide_id] => 1 [slide_list_name] => all ) )
  • HOME
  • >
  • NEWS
  • >
  • Interview|ความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับเรื่อง 'พุทธศาสนา'

Interview|ความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับเรื่อง 'พุทธศาสนา'

13/06/2019
SAMURAI ASIA Editorial Department

เปิดมุมมองเรื่องพุทธศาสนาของคนไทย ในด้านที่คนญี่ปุ่นอาจไม่คาดคิด

3 กล่าวกันว่ากว่า 95% ของคนไทยนับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากเป็นศาสนาประจำชาติ ในโอกาสนี้ทีมงานซามูไรเอเชียจึงได้ลองสัมภาษณ์คนไทย 4 คน ต่างเพศและช่วงอายุ ในมุมมองด้าน “พุทธศาสนา” โดยมีบรรณาธิการนิตยสารเป็นผู้ดำเนินการสัมภาษณ์ ซึ่งใช้เวลานานกว่าหนึ่งชั่วโมงในการสนทนา และเมื่อเริ่มพูดคุยให้ลึกลงไปถึงแนวคิดทางด้านศาสนาของทุกท่านแล้ว บรรณาธิการชาวญี่ปุ่นของเราก็ได้ค้นพบมุมมองใหม่ที่ตนเองไม่เคยคาดคิดมาก่อนเช่นกัน

 

Q. จุดเริ่มต้นในการนับถือศาสนาพุทธ
เป็นการนับถือตามสมาชิกในครอบครัว เป็นต้นว่าเด็ก ๆ นับถือเพราะมีพ่อแม่ที่ศรัทธาในศาสนาพุทธ

Q.ความเคร่งครัดในการนับถือศาสนาพุทธ
ทั้ง 4 ท่าน ไม่ใช่ศาสนิกชนที่เคร่งครัดต่อวินัย แต่ยังคงศรัทธาในหลักคำสอนของศาสนาพุทธ

Q. จุดมุ่งหมายในการนับถือศาสนาพุทธ
จากคำสอนของศาสนาพุทธเรื่องการดำรงชีวิตและการรับมือกับความทุกข์นั้น ทำให้ทั้ง 4 ท่านมีความเลื่อมใสศรัทธา จนตั้งใจเรียนรู้คำสอนดังกล่าว และน้อมนำมาปฏิบัติจริง

Q. มีความคาดหวังอย่างไรในการนับถือศาสนาพุทธ
ลึกๆ แล้วก็ต้องการจะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ก็พยายามที่จะไม่คาดหวัง เพื่อจะได้หลุดพ้นจากความทุกข์ของชีวิต อันเป็นเจตนาที่แท้จริงของพุทธศาสนา



After the interview

ผม (บรรณาธิการ) อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นปีที่ 7 แล้ว แต่จากการสัมภาษณ์ครั้งนี้ทำให้มุมมองของผมที่มีต่อคนไทยเปลี่ยนไปเล็กน้อย แม้ว่าผมจะทราบดีเรื่องความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธของคนไทย แต่ก็เข้าใจว่าจุดประสงค์ของการนับถือนั้นเน้นหนักไปที่การคาดหวัง “ความโชคดี” แต่เมื่อได้พูดคุยกับทั้ง 4 ท่านในครั้งนี้ มีบางท่านกล่าวว่า "ใช้ธรรมะเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาของชีวิต และเพื่อหลุดพ้นจากความทุกข์” นั่นทำให้ผมรู้สึกว่าได้เห็นอีกด้านหนึ่งของคนไทยนอกจากด้านที่สดใสและมองโลกในแง่ดี

เนื่องจากศาสนาพุทธนิกายเถรวาทที่พวกเขานับถือ มีนิยามว่า “การเวียนว่ายตายเกิดเป็นทุกข์” จากการสัมภาษณ์ทำให้เห็นว่าความรู้สึกที่อยู่ภายในใจของพวกเขาดูจะใกล้เคียงกับนิยามดังกล่าว ผมรู้สึกว่าคนไทยใช้ชีวิตอยู่ระหว่างคำนิยามของพุทธศาสนาที่ว่า “ชีวิตคือความทุกข์“ ซึ่งตรงข้ามกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่มีความร่าเริง สนุกสนาน อะลุ่มอล่วยให้กับปัญหาต่างๆ ผมคิดว่าความซับซ้อนในข้อนี้ อาจจะช่วยให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจคนไทยเพิ่มขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย



NEWS Other News
Contact Us
News Categories
SAMURAI ASIA User Voice
Special Feature
เรื่องเล่าจากวันวาน
ถามนิดหน่อย
Reiko จะบอกว่า ....
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงความสะดวกของเว็บไซต์
คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายคุกกี้และการใช้งานเว็บไซต์ ต่อไป แสดงว่าคุณยินยอมให้ใช้คุกกี้