หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเริ่มเข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์ในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์, อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ โดยได้มีการพัฒนามานานกว่าครึ่งศตวรรษ แม้เส้นทางที่นำไปสู่การใช้งานจริงจะมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่จากการลองผิดลองถูกทำให้ในที่สุดเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว Robot ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการวางจำหน่ายทั่ว หนึ่งในบริษัทที่เป็นผู้บุกเบิกในการวิจัยและพัฒนานั้นก็คือ บริษัท "DENSO" ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์นั่นเอง
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกในปี 2534 จากนั้นในช่วงปี 2543 จึงได้ขยายตลาดเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทที่เข้ามารับหน้าที่เป็นผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยนั้น คือ บริษัท "UENO" ผู้จำหน่ายเครื่องจักรและเครื่องมือ ที่เคยร่วมงานกันในประเทศญี่ปุ่นมาก่อน
บทความในครั้งนี้เป็นการมองย้อนกลับไปในช่วงที่เริ่มมีการวางจำหน่ายหุ่นยนต์ในประเทศไทยและความต้องการของตลาดในปัจจุบันระหว่างคุณเท็ตสึจิ ฟุกิงามิ ผู้จัดการบริษัท UENO (THAILAND) และคุณฮายาโตะ ทานิ ผู้จัดการบริษัท DENSO SALES (THAILAND)
คุณฟุกิงามิ :ในช่วงต้นของปี 2543 ที่เราเริ่มจำหน่ายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมซึ่งผลิตโดยบริษัท DENSO นั้น พบว่าตลาดในประเทศไทยยังคงเป็นตลาดที่มีการใช้แรงงานในการผลิตเป็นอย่างมากจนเกิดคำถามที่ว่า "Robot คืออะไร ? มีไว้เพื่อใช้ทำอะไร ?" เนื่องจากค่าจ้างแรงงานนั้นต่ำมากจึงเกิดการต่อต้านว่าทำไมจะต้องซื้อเครื่องจักรที่มีราคาสูงเข้ามาทดแทนด้วย ด้วยเหตุนี้การประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรับรู้จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เราได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า หลายครั้งเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลและผลลัพธ์ที่จะได้เมื่อมีการนำ Robot เข้ามาใช้งาน
คุณทานิ : ในตอนนั้นประเทศไทยยังมีผู้ที่เป็น System integrator น้อยมาก เนื่องจาก Robot นั้นเป็นเพียงแค่ Manipulator (ผู้ปฏิบัติงาน) เท่านั้น การจะใช้ Robot ทำงานอย่างไรในกระบวนการผลิตนั้นเป็นหน้าที่ของ System integrator ที่เป็นคนสร้างสรรค์ขึ้นมา พอจำนวนผู้ที่เป็น System integrator ของตลาดในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
คุณฟุกิงามิ : ผมรู้สึกได้ว่าเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้วเป็นต้นมา Robot ได้เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งความสนใจของบรรดาผู้ผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ตอนนี้กลายเป็นสภาพที่ขาดระบบอัตโนมัติไม่ได้แล้ว ดังนั้น การพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจึงเปลี่ยนไปในทิศทางที่ตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายมากขึ้นนั่นเอง
คุณทานิ : เราแบ่งการคลาดออกเป็น 3 ส่วน คือ Robot 6 แกนหรือหลายแกนแบบแนวตั้งที่มีขนาดเล็ก, Scala robot ขนาดเล็กและหลายแกนแบบแนวนอนและ Collaborative robot ที่เข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์ เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นความต้องการในการจัดทำระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแม้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างประเทศไทย ก็ตาม ด้วยเหตุนี้การออกแบบ Robot จึงต้องมีความปลอดภัย, ติดตั้งได้ในทุกสถานที่, ใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่นสูงเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่มากขึ้นนั่นเอง
คุณฟุกิงามิ : ผมรู้สึกได้ว่าความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีความหลากหลายมากขึ้น ประกอบกับความต้องการในผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยเพิ่มมูลค่าเพื่อตอบสนองต่อนโนบายในการยกระดับความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมในประเทศไทยหรือที่เรียกว่าประเทศไทย 4.0 ที่รัฐบาลไทยกำลังผลักดันอยู่ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น การสร้างระบบการผลิตโดยใช้ Robot จึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ส่งผลให้อุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยในช่วง 10 ปีให้หลังนี้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก
คุณทานิ : ความต้องการในการจัดทำระบบอัตโนมัติหรือระบบการผลิตที่ช่วยเพิ่มมูลค่ายังคงมีต่อไปเรื่อยๆ ดังนั้น ในฐานะของผู้ผลิต Robot แล้ว เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้จงได้
(ข่าวที่เกี่ยวข้อง)
Robot และ FA ที่ประเทศญี่ปุ่น, ประเทศไทยและทั่วโลกให้ความสนใจ
https://www.smri.asia/th/ueno/news/102/
(ข้อมูลผลิตภัณฑ์ของบริษัท DENSO)
https://www.smri.asia/th/ueno/products/417/
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ Robot อุตสาหกรรมที่ผลิตโดยบริษัท DENSO แล้ว กรุณาสอบถามได้จากแบบฟอร์มด้านล่างนี้
Bangkok Head Office
Tel: +66(0)2-319-8180
Email: utc@ueno.co.th
Shiracha Branch
Tel: +66(0)98-281-1050
Email: sriracha@ueno.co.th
Chiang Mai Branch
Tel: +66(0)53-141-062
Email: chiangmai@ueno.co.th
Contact person
ITTI
Mobile: +66(0)81-831-4976
Email: itti@ueno.co.th